5 เหตุผลที่หนังสือเด็กส่งผลต่อพัฒนาการด้านนิสัย หนังสือเด็กนับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เด็ก ๆ พัฒนาการทางด้านนิสัยที่ดี การอ่านหนังสือให้เด็กฟังอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เด็กมีอารมณ์เบิกบานแจ่มใส เพิ่มทักษะด้านความคิดและการสื่อสาร รวมไปถึงพัฒนาการด้านการเรียนรู้อีกด้วย ซึ่งเหตุผลที่หนังสือสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กได้นั้นมีดังต่อไปนี้ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว การอ่านหนังสือให้เด็กเล็กโดยพ่อแม่หรือพี่น้องนั้น นับเป็นช่วงเวลาที่สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน เป็นเวลาที่เด็ก ๆ ได้ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ เกิดเป็นความรู้สึกผูกพัน มั่นคง จนกลายเป็นความเชื่อมั่นในตนเอง เกิดเป็นความเชื่อมั่นในการแสดงอารมณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ปลูกฝังความช่างคิดช่างสังเกต เรื่องราวในหนังสือเด็กที่ดีจะช่วยให้เด็กเกิดความสนใจในเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ กลายเป็นการสร้างสรรค์ทางจินตนาการและความช่างสังเกตของเด็กได้ดี ยิ่งการอ่านด้วยน้ำเสียงหรือท่าทางประกอบที่น่าสนใจ ก็จะยิ่งกระตุ้นให้เด็กจดจำ รู้จักสังเกต และสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้มากยิ่งขึ้น สร้างโอกาสให้เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น การอ่านหนังสือให้เด็กฟัง จะเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อารมณ์ต่าง ๆ ของตัวละครในนิทาน ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์เศร้าเสียใจ ผิดหวัง สนุกสนาน หรือเฮฮา ซึ่งในเด็กเล็กจะยังไม่สามารถแยกแยะอารมณ์ชนิดต่าง ๆ เหล่านี้ได้ดีนัก ผู้ปกครองจึงสามารถใช้หนังสือเสริมพัฒนาการเด็ก สอนให้เด็ก ๆ เข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ให้ดีขึ้น จนสามารถเสริมสร้างความกล้าให้เด็กกล้าปรึกษาเมื่อเกิดความรู้สึกไม่แน่ใจได้ การฝึกสมาธิไปในตัว การอ่านหนังสือจะเป็นช่วงเวลาที่เด็กได้จดจ่อกับเรื่องราวที่กำลังอ่าน หรือฟังจากที่ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ทำให้เด็กเกิดความคุ้นชินที่จะมีสมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งยังเป็นการสร้างนิสัยให้เด็กรู้จักการนั่งนิ่ง ๆ เพื่ออ่านหนังสือ […]
ความสำคัญของหนังสือนิทานเด็กกับพัฒนาการ วัยเด็กเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ และสร้างเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก ผู้ปกครองจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่หลากหลายมาสร้างเสริมพัฒนาการให้กับลูก ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่ผู้ปกครองนิยมนำมาใช้นั้นก็คือหนังสือนิทานเด็กนั่นเอง ซึ่งสิ่งที่ทำให้หนังสือนิทานกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กนั้นมีดังต่อไปนี้ จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ เรื่องราวในนิทานมักเต็มไปด้วยสีสันและเนื้อหาที่สร้างการเรียนรู้และจินตนาการให้กับเด็ก ดังนั้นเมื่ออ่านหนังสือนิทานให้เด็กฟังก็จะทำให้เด็กได้คิดตาม เกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ทั้งยังเป็นการฝึกสมองของเด็กให้มีพัฒนาการตามไปด้วย เสริมสร้างความเชื่อมั่น ในระหว่างที่ผู้ปกครองกำลังอ่านหนังสือให้เด็กฟัง ก็มักเป็นช่วงเวลาที่ผู้ใหญ่ได้ใช้เวลาอยู่กับเด็กได้อย่างเต็มที่ จึงช่วยสร้างสายสัมพันธ์ที่ดี ยิ่งการปล่อยให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น หรือท่าทางต่าง ๆ ในระหว่างการอ่านหนังสือนิทานเด็กเสริมพัฒนาการ ก็จะยิ่งช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการแสดงออกของเด็กให้เพิ่มมากขึ้นได้อีกทางหนึ่งด้วย พัฒนาการทางสังคม เรื่องราวในหนังสือนิทานเด็ก มักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน หรือเรื่องราวที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในสังคม ดังนั้นการอ่านหนังสือนิทานก็จะช่วยให้เด็กรู้จักและเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคม เรียนรู้ว่าเรื่องใดเป็นสิ่งที่ควรทำและเรื่องใดเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำได้ดี พัฒนาด้านการจดจำ การอ่านหนังสือนิทานสําหรับปฐมวัยในเด็กเล็กนั้น เด็ก ๆ มักยังไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ ให้พ่อแม่ได้รู้ว่าเด็กชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาในหนังสือ แต่เด็กก็จะสามารถรับรู้เรื่องราวที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองอ่านให้ฟังได้ ซึ่งจะสามารถสังเกตได้ในกรณีที่เด็กโตขึ้น จะเริ่มมีการเลือกประเภทหนังสือที่ชอบให้อ่าน หรือรู้สึกสนุกร่วมทุกครั้งที่ผู้ปกครองอ่านให้ฟัง อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าเด็กรู้จักจดจำสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟังได้เป็นอย่างดี พัฒนาเซลล์สมอง การอ่านหนังสือนิทานช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์ ซึ่งนอกจากนิทานที่เป็นตัวอักษรแล้ว ผู้ปกครองอาจใช้หนังสือนิทานภาพมาให้เด็กได้อ่านและเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ผ่านภาพประกอบ ซึ่งการกระตุ้นให้สมองของเด็กได้ทำงานจะช่วยให้เซลล์สมองของเด็กที่กำลังตื่นตัวเหล่านี้สามารถขยายตัวได้อย่างเต็มที่ ลดการเกิดอาการสมองฝ่อได้ในอนาคต การส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ในเด็กเล็กนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งปฐมวัยที่เด็ก […]
เทคนิคการอ่านหนังสือเด็กให้ลูกในท้องฟัง การอ่านหนังสือเด็กให้ลูกในท้องฟังนับเป็นวิธีสร้างปฏิสัมพันธ์ที่พ่อแม่มือใหม่นิยมทำกันมาก เพราะแม้ว่าทารกจะอยู่ในครรภ์ของแม่ แต่ก็สามารถรับรู้และได้ยินเรื่องราวที่พ่อและแม่สื่อสารให้ฟังได้ จึงช่วยเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับลูกน้อยตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ แต่ต้องปฏิบัติด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้ ระยะเวลาของทารกในครรภ์ ทารกในท้องจะเริ่มได้ยินเสียงเมื่ออายุครรภ์ที่ 24 – 26 สัปดาห์แล้ว เป็นช่วงที่ระบบการได้ยินได้รับการพัฒนาจนสามารถได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจคุณแม่ หรือเสียงพูดคุยต่าง ๆ ได้แล้ว คุณพ่อและคุณแม่จึงควรเริ่มการอ่านหนังสือนิทานให้ลูกน้อยฟังในช่วงนี้ได้เลย ประเภทของหนังสือที่อ่าน หนังสือเด็กที่นำมาอ่านให้ลูกน้อยในครรภ์ฟังสามารถส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของทั้งตัวแม่และลูกน้อยได้โดยตรง จึงควรเลือกหนังสือนิทานเด็กที่ช่วยให้จิตใจของแม่สงบและเบิกบาน ซึ่งส่งผลให้เสียงเต้นของหัวใจของแม่ปกติ เด็กทารกก็จะสงบและรู้สึกสบายตามไปด้วย แต่หากเป็นหนังสือที่เร้าอารมณ์ กระตุ้นความเครียด ก็จะสร้างความเครียดให้ทารกในครรภ์ได้ การสัมผัสหน้าท้องกระตุ้นไปพร้อม ๆ กัน ในระหว่างที่กำลังอ่านหนังสือให้ลูกฟัง คุณพ่อคุณแม่สามารถลูบหน้าท้องหรือทำนิ้วท่าทางปูไต่ หรือท่าคนเดินบนหน้าท้อง เพื่อเล่นและเป็นการกระตุ้นให้ลูกน้อยสนใจในเรื่องราวที่เล่าให้ฟังเพิ่มเติมได้ นอกจากนี้ การสัมผัสที่อ่อนโยนจะสร้างภาวะอารมณ์ทางบวกให้กับลูกด้วย การอ่านด้วยน้ำเสียงและจังหวะที่เหมาะสม แม้จะเป็นการอ่านให้ลูกในท้องที่ยังไม่คลอดออกมา คุณแม่ก็ควรอ่านหนังสือเสริมพัฒนาการเด็กด้วยน้ำเสียงชัดเจน มีจังหวะ ออกเสียงตามอารมณ์ของตัวหนังสือ เพื่อให้เด็กในท้องสามารถเรียนรู้วิธีการสื่อสารที่ถูกต้องเหมาะสมไปพร้อม ๆ กับการเรียนรู้เรื่องราวที่คุณแม่หรือคุณพ่อกำลังเล่าได้เต็มที่ ทำอย่างสม่ำเสมอ การอ่านหนังสือให้ลูกในท้องฟังไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานนัก อ่านเพียง 1 – 2 เรื่องก็เพียงพอแล้ว แต่ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน วันละ 2 ครั้ง […]