แบบฝึกหัดอนุบาลนับเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้และสร้างไหวพริบให้กับสมอง ซึ่งโดยมากรายละเอียดภายในแบบฝึกหัดจะเต็มไปด้วยบททดสอบ หรือเกมฝึกสมองให้เด็ก ๆ ได้ลองทำอย่างการเล่นการ์ดทายคำก็นับว่าเป็นรายละเอียดที่ใช้แบบฝึกหัดสำหรับเด็กอนุบาลอยู่บ่อยครั้ง เพราะสามารถสร้างไหวพริบและพัฒนาการที่ดีให้กับเด็กได้ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
- ฝึกการเรียนรู้ได้โดยไม่เครียด การใช้การ์ดทายคำเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักคิดและวิเคราะห์ด้วยการเปิดการ์ดประกอบคำถาม ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถเข้าใจคำถามได้ง่ายมากขึ้น ช่วยให้เด็กมีความตั้งใจที่จะคิดวิเคราะห์จนกว่าจะแก้โจทย์คำถามได้
- การใช้ความคิดคล่องแคล่วรวดเร็วมากขึ้น การใช้การ์ดหรือเกมทายคำง่าย ๆ จะช่วยให้เด็กรู้จักสร้างไหวพริบขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ ซึ่งเมื่อฝึกอย่างสม่ำเสมอก็จะยิ่งสร้างไหวพริบและความรวดเร็วในการคิดวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- สร้างความสนุกสนานให้เด็ก การทำแบบฝึกหัดสำหรับเด็กเล็กหลายคนดูเป็นเรื่องยาก เพราะวัยเด็กเป็นวัยที่การรวบรวมสมาธิยังทำได้ยาก การให้เด็กทำแบบฝึกหัดอนุบาลในรูปแบบของการ์ดทายคำ หรือเกมอื่น ๆ จะช่วยให้เด็กรู้สึกสนุกสนานและตั้งใจทำแบบฝึกหัดมากขึ้น ช่วยให้การฝึกฝนไหวพริบในเด็กกลายเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น
- สร้างไหวพริบและเชาวน์ปัญญา สมองของเด็กเล็กยังมีเซลล์ที่ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่อยู่มากมาย ซึ่งเซลล์สมองเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสม เพื่อให้สมองเกิดการขยายตัวและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นการให้เด็กเล่นเกมการ์ดทายคำในแบบฝึกหัดสำหรับเด็กอนุบาลจึงเป็นการกระตุ้นให้สมองได้ทำงาน เพิ่มไหวพริบและเชาวน์ปัญญาให้ดีมากขึ้นสมวัย
- เสริมความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การฝึกให้เด็กรับมือกับคำถามง่าย ๆ ด้วยการ์ดทายคำหรือแบบฝึกหัดอนุบาล คณิตศาสตร์อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เด็กพัฒนาความคิดด้านการวิเคราะห์ และวางแผนได้ดีมากขึ้น ส่งผลให้เด็กสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตได้ดีมากขึ้น
ด้วยประโยชน์ต่าง ๆ มากมายเหล่านี้ จึงทำให้การทำแบบฝึกหัดอนุบาลมีความจำเป็นต่อเด็กอนุบาลทุกคน ซึ่งนอกจากครูจะติดตามดูแลการทำแบบฝึกหัดของเด็กอย่างใกล้ชิดแล้ว ผู้ปกครองยังควรใช้เวลาร่วมกับเด็กในการทำแบบฝึกหัดอย่างสม่ำเสมอด้วย เพื่อเฝ้าติดตามพัฒนาการของเด็กอย่างใกล้ชิด อันจะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถส่งเสริมหรือเลือกรูปแบบของเกมที่เหมาะกับเด็กแต่ละคนได้ดีขึ้น และยังเป็นการช่วยแก้ไขข้อบกพร่องหรือสิ่งที่เด็กยังไม่ชำนาญหรือผิดพลาดบ่อยได้อย่างตรงประเด็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นต่อการสร้างไหวพริบและพัฒนาการของเด็กเป็นอย่างมาก